Star-Clear Filter Hayward
หมวดหมู่: ไม่มีหมวดหมู่
Sand Filter SwimPro
Sand Filter SwimPro
Sand Filter System with Pump 1HP
Sand Filter System with Pump 1HP
Top Mount Filter
Top Mount Filter
Side Mount Filter
Side Mount Filter
Pro-Grid D.E Filter
Pro-Grid D.E Filter
ระบบการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ
ระบบการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ
ระบบการฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มี 3 ระบบ ได้แก่
1. ระบบคลอรีน เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้กันมาก คลอรีนที่ใช้อยู่ในรูปของเหลว เม็ด และผงคลอรีน โดยคลอรีนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) อยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 หากค่า PH สูงเกินไป (เป็นด่างมาก) จะต้องเติมกรดเกลือ (HCl : Hydrochloric acid) ลงไปปรับสภาพน้ำก่อน และถ้าน้ำในสระมีค่า PH ต่ำ (มีความเป็นกรดสูง) จะต้องเติมสารที่เป็นด่างจำพวก Buffer หรือ Soda ash (Na2CO3 : Sodium Carbonate) เพื่อปรับค่า pH ในน้ำก่อน เนื่องจากสารคลอรีนอาจมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ดังนั้นการละลายคลอรีนจึงควรทำในช่วงเย็นหลังจากที่ใช้สระเสร็จแล้ว และต้องเปิดเครื่องกรองทิ้งไว้อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง การปรับค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ให้บริการ ให้ทำทุกวัน โดยมีค่าปริมาณคลอรีนอยู่ที่ 3 ppm ในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนคลอรีนจะสลายตัวเร็ว และ 2 ppm ในฤดูฝน และฤดูหนาว
ซุปเปอร์คลอรีน คือ การเติมคลอรีน 2-3 เท่าจากปกติ คือ ปรับค่าคลอรีนให้อยู่ที่ 4 ppm โดยจะทำหลังจากวันที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก หรือมีตะไคร่ในสระ หรือเพื่อทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ได้สะสมไว้ในน้ำ การทำซุปเปอร์คลอรีน สามารถทำได้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
2. ระบบเกลือ เป็นระบบควบคุมความสะอาดของน้ำด้วยระบบเกลือ โดยใช้เครื่องผลิตคลอรีนอัตโนมัติจากเกลือ (Salt Chlorinator) ระบบนี้จะใช้เกลือธรรมชาติ (NaCl : Sodium Chloride) ในการฆ่าเชื้อโรคแทนคลอรีน โดยอาศัยวิธีทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า Electrolysis เกิดเป็นโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl : Sodium Hypochlorite) และเกลือ NaCl กลับคืนมา เกลือเมื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคแล้วจะไม่สูญหายไปไหน จะเติมก็ต่อเมื่อมีการทำ Back Wash คือ ล้างเครื่องกรอง หรือฝนตกจนน้ำล้นออกจากสระว่ายน้ำ ดังนั้นการเติมเกลือจะเติมประมาณปีละ 2-3 ครั้ง และน้ำเกลือจะมีความเข้มข้นเพียง 0.3% เท่านั้นเอง (ประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำตาคนเรา)
ข้อดีของระบบนี้ คือ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ประหยัดค่าสารเคมีเนื่องจากราคาเกลือมีราคาถูกกว่าคลอรีนมาก ประหยัดค่าแรงงานในการดูแลรักษา เนื่องจากไม่ต้องเติมเกลือบ่อยเหมือนคลอรีน การใช้งานง่าย สะดวก เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ และติดตั้งอุปกรณ์ง่าย สามารถใช้กับสระว่ายน้ำที่มีอยู่แล้วได้
ข้อจำกัดของระบบนี้ คือ ราคาค่าอุปกรณ์มีราคาสูง ( Salt Chlorinator ) น้ำมีรสชาติกร่อย อาจต้องถ่ายน้ำทิ้งถ้ามีความเข้มข้นของเกลือสูงเกินไป
ปริมาณเกลือที่ใช้ในการเดินระบบในครั้งแรกนั้นจะใช้เกลือประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลบ.ม. ผู้ดูแลสระจะวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำเกลือ และเติมเกลือ หรือกรดอย่างอ่อน เพื่อให้น้ำในสระมีค่า PH เป็นกลาง
3. ระบบโอโซน เป็นระบบที่นำเอาก๊าซ โอโซน ซึ่งผลิตจากเครื่องอัดอากาศ มาบำบัดน้ำในสระ มีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคในระยะเวลาอันสั้นกว่าระบบอื่นและไม่มีสารเคมีทุกชนิดตกค้างในน้ำ ระบบโอโซนเป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีศักยภาพสูงมาก เมื่อน้ำที่ผ่านโอโซนได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว น้ำที่สะอาดจะลงสู่สระว่ายน้ำ
ระบบนี้มีข้อเสียคือ ขณะที่น้ำอยู่ในสระจะไม่มีการฆ่าเชื้อโรค จนกว่าน้ำจะกลับมาผ่านโอโซนอีกครั้ง ดังนั้น เมื่อมีเชื้อโรคจากมนุษย์ หรือจากแหล่งต่างๆ ลงสู่สระว่ายน้ำในห้วงเวลาที่ยังไม่ได้ผ่านโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อโรคครั้งใหม่ ( ประมาณ 3-6 ชั่วโมง) เชื้อนั้นจะยังคงปะปนอยู่ในสระว่ายน้ำ ทำให้เกิดโรคติดต่อแก่ผู้เล่นน้ำในสระเดียวกันได้ ต่อเมื่อน้ำในสระได้กลับมาผ่านเครื่องฉีดโอโซนอีกครั้ง เชื้อโรคจึงจะถูกทำลาย ดังนั้น ในบางประเทศจึงมีกฎหมายสำหรับสระว่ายน้ำสาธารณะ ห้ามใช้ระบบโอโซนอย่างเดียว ต้องใช้ควบคู่กับระบบอื่น ( เช่น ใช้คลอรีน หรือน้ำเกลือ ) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ
จากการเปรียบเทียบ ระบบสระว่ายน้ำ ทั้ง 3 ระบบ ระบบบำบัดน้ำสระว่ายน้ำที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้ คือ ระบบน้ำเกลือ โดยประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่มีสระว่ายน้ำมากที่สุดในโลก ใช้ระบบเกลือมากกว่า 90 % ของสระว่ายน้ำทั้งหมด
เรียบเรียงโดย น.ท.หญิงรัชนีย์ รุกขชาติ
สวัสดีชาวโลก – -‘
ยินดีต้อนรับสู่เวิร์ดเพรส นี่เป็นเรื่องแรกของคุณ คุณสามารถแก้ไขหรือลบมันได้ แล้วเริ่มการเขียน